แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) เปิดตัว แอลจี มัลติ วี 5 (MULTI V 5) เครื่องปรับอากาศแบบ VRF รุ่นใหม่ล่าสุดจากกลุ่มมัลติ วี ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยแอลจี มัลติ วี 5 มาพร้อมประสิทธิภาพการทำงานและการประหยัดพลังงานที่เหนือชั้น พร้อมมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผู้ใช้ ด้วยเทคโนโลยี Dual Sensing Control ที่ตรวจวัดทั้งอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อประสิทธิภาพการทำความเย็นและความร้อนที่สม่ำเสมอ รวมทั้งอัลทิเมท อินเวอร์เตอร์ คอมเพรสเซอร์ที่มาพร้อมศักยภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นของหน่วยภายนอก แอลจี มัลติ วี 5 คือที่สุดของโซลูชั่นส์การควบคุมสภาพอากาศที่ตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้

นายซาง มิน ลี รองประธานบริหารฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางและจีน ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ กล่าวว่า “เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับแอลจี มัลติ วี 5 ระบบปรับอากาศรุ่นใหม่จากโซลูชั่นส์แฟล็กชิพของแอลจี แอลจี มัลติ วี 5 คือระบบ VRF รุ่นที่ 5 ของเรา ซึ่งอัดแน่นด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อมอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและความสะดวกสบายที่ดียิ่งกว่าเดิม และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการควบคุมสภาพอากาศได้มากขึ้น แอลจี มัลติ วี 5 ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายลงอย่างเห็นได้ชัดและมอบความสะดวกสบายที่เหนือกว่าแก่ลูกค้าของเราทั่วโลก”

เทคโนโลยี Dual Sensing Control

หนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าประทับใจที่สุดของแอลจี มัลติ วี 5 คือเทคโนโลยี Dual Sensing Control ซึ่งช่วยให้เครื่องปรับอากาศประเมินสภาพอากาศแม้ในรายละเอียดที่เล็กที่สุด ในขณะที่เครื่องปรับอากาศแบบดั้งเดิมจะตรวจวัดเฉพาะอุณหภูมิ แอลจี มัลติ วี 5 ตรวจวัดทั้งระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ทั้งภายในห้องและภายนอก เทคโนโลยี Dual Sensing Control ยังมาพร้อมฟังก์ชั่น Comfort Cooling ที่ช่วยคงประสิทธิภาพการทำงานในระดับอุณหภูมิที่ต้องการ เพื่อมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผู้ใช้

Ultimate Inverter Compressor

อัลทิเมท อินเวอร์เตอร์ คอมเพรสเซอร์ของแอลจี มัลติ วี 5 มอบประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความทนทานที่ไม่มีใครเทียบได้ โดยขยายช่วงการทำงานจาก 15 ถึง 150 Hz ในรุ่นที่แล้ว เป็น 10 ถึง 165 Hz ในรุ่นนี้ นอกจากนี้ Smart Oil Management ระบบจัดการน้ำมันอัจฉริยะยังใช้เซนเซอร์เพื่อวัดความสมดุลของระดับน้ำมันในคอมเพรสเซอร์แบบเรียลไทม์ เพื่อลดการจ่ายคืนน้ำมันโดยไม่จำเป็น

พลังงานที่เหนือชั้น

ด้วยนวัตกรรมใบพัดไบโอไมเมติกส์ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน 4 ด้าน และเทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์ใหม่ล่าสุด แอลจี มัลติ วี 5 จึงพร้อมมอบประสิทธิภาพและศักยภาพที่ล้ำหน้า มอบพลังให้หน่วยภายนอกสูงสุดถึง 26 แรงม้าต่อหน่วย โดยการออกแบบใบพัดของรุ่นมัลติ วี 5 ได้รับแรงบันดาลใจจากครีบของปลาวาฬหลังค่อม ซึ่งช่วยเพิ่มการตัดอาการภายในเครื่องทำให้สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สารเคลือบ Ocean Black Fin

สารเคลือบ Ocean Black Fin และระบบ Dual Protection ซึ่งมีความหนาถึง 2 ชั้นและเคลือบทั้ง 2 ด้าน ช่วยปกป้องแอลจี มัลติ วี 5 จากสารกัดกร่อน เช่น ไอเกลือ ทราย และสารอันตรายอื่น ๆ ที่มาพร้อมลมทะเลและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม สาร Ocean Black Fin สีดำที่เคลือบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนไว้จะช่วยไม่ให้น้ำเกาะบนผิวเพื่อป้องกันความชื้นสะสม ความทนทานของตัวเครื่องนั้นช่วยยืดอายุการใช้งานและลดค่าดูแลรักษา และส่งผลให้ผู้ใช้ได้สะดวกสบายกับประสิทธิภาพการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม

ระบบทำความร้อนต่อเนื่อง Continuous Heating

นอกจากนี้ เทคโนโลยียืดระยะเวลาละลายน้ำแข็งและการละลายน้ำแข็งเพียงบางส่วน ซึ่งจะรับข้อมูลผ่านเซนเซอร์ความชื้นจากระบบ Dual Sensing Control ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้โหมดทำ ความร้อนต่อเนื่องหรือ Continuous Heating ด้วยการเพิ่มศักยภาพการทำความร้อนและเพิ่มความสะดวกสบายภายในห้อง ทั้งยังเพิ่มระยะเวลาทำความร้อนต่อวันสูงขึ้นถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และลดการใช้พลังงานลดถึง 7 เปอร์เซ็นต์

“เพื่อเจาะตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ แอลจีได้เตรียมงบประมาณการตลาดกว่า 40 ล้านบาทสำหรับปี 2561 นี้ เราพร้อมมอบโซลูชั่นส์การควบคุมสภาพอากาศอย่างครบวงจร นับตั้งแต่การออกแบบระบบทั้งหมด การเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการ และบริการหลังการขาย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของเราที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ด้วยฟีเจอร์ของแอลจี มัลติ วี 5 ที่เหนือชั้นและโซลูชั่นส์ที่ครอบคลุมทุกความต้องการ แอลจี ประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะบุกตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ” คุณธีระวัฒน์ จูงหัตถการสาธิต ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริม

แอลจี มัลติ วี 5 วางจำหน่ายแล้วผ่านตัวแทนจำหน่ายแอลจีอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แอลจี คอลเซ็นเตอร์ 0-2878-5757 หรือเว็บไซต์ www.lg.com/th

"ไดกิ้น" ผู้นำด้านระบบปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ที่คนทั่วโลกไว้วางใจ ตอกย้ำความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในประเทศไทยปิดท้ายปี 2559 ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศใหม่ระบบ Inverter รุ่นซูเปอร์สไมล์ และ ระบบ Non-Inverter รุ่นสแมช ทู  รวมถึงเครื่องปรับอากาศสกายแอร์  แบบฝังใต้ฝ้า รุ่น 8-Way Cassette และ แบบแขวนใต้ฝ้า รุ่น FHNQ และเครื่องฟอกอากาศ ไดกิ้น ชูจุดขายนวัตกรรมประหยัดพลังงาน ความเย็น และ ประหยัดพื้นที่ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จาก รายงานพิเศษ ชิ้นนี้

 

 
 
 

 

"ยูนิแอร์" เปิดตัวนวัตกรรมทำความเย็นในงาน Bangkok RHVAC 2017

                     ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายนนี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคมีการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น 2560 ครั้งที่ 11 หรือ งาน Bangkok RHVAC 2017  จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม กลุ่มงานสินค้าอุตสาหกรรม โดยมีผู้ร่วมงานคือกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ร่วมงาน

                       ดร.ณรัณ ศิริสันธนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิแอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ภายใต้แบรนด์ "ยูนิแอร์" กล่าวว่า งาน Bangkok RHVAC 2017 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นงานที่มีความสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศระดับนานาชาติ  เพราะมีลูกค้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เดินทางมาชม เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับสากล  

 
 

                   ในส่วนของยูนิแอร์นั้น ได้นำนวัตกรรม"เครื่องทำน้ำเย็นระบบอินเวอร์เตอร์แบบ Modular รุ่นMWCU-PHE" และ"เครื่องปรับอากาศแบบตั้งได้แขวนได้ ใช้สารทำความเย็น R32 รุ่น UFV/AFV มาจัดแสดง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของยูนิแอร์

                    กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิแอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวต่อว่า การให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกให้ความใส่ใจ ที่ผ่านมา"ยูนิแอร์"ให้ความสำคัญกับงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก สืบเนื่องมาจากผู้ก่อตั้งกิจการของ "ยูนิแอร์" เติบโตมาจากกลุ่มวิศวกรไทยที่ร่วมกันบุกเบิก  ผลิตภัณฑ์ของยูนิแอร์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่าเป็น "แอร์พันธุ์อึด"เพราะผลิตจากวัสดุที่ทนทาน มีเทคโนโลยีทันสมัย ประหยัดพลังงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ จึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการและ ยังได้รับรางวัลด้านมาตรฐานสินค้ามาโดยตลอด โดยเฉพาะรางวัลล่าสุด Thailand Energy Award 2015 จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นรางวัลทางด้านผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานอีกด้วย

                  สำหรับผลิตภัณฑ์ เครื่องทำน้ำเย็นระบบอินเวอร์เตอร์แบบ Modular รุ่น MWCU-PHE ที่นำมาเสนอในงานนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับงานระบบปรับอากาศที่ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม  อาคารสำนักงานขนาดใหญ่,โรงแรม ,ระบบหล่อเย็น ,โรงงานผลิตอาหาร,โรงงานผลิตยา ฯลฯ

               ถือเป็นนวัตกรรมใหม่อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับสินค้าเครื่องปรับอากาศในกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ซ่อมบำรุงง่าย แต่ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้

                 ทั้งนี้ เครื่องทำน้ำเย็นระบบอินเวอเตอร์แบบ Modular รุ่น MWCU-PHE ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็น เพื่อนำไปใช้ในระบบปรับอากาศหรือระบายความร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยระบบอินเวอเตอร์สามารถปรับการทำความเย็นตามความต้องการในขณะนั้น ทำให้ประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็น (COP) สูงถึง 6.64

                นอกจากนี้ ด้วยการออกแบบที่เรียกว่า Modular ทำให้ใช้พื้นที่การติดตั้งน้อย ซ่อมบำรุงง่าย สามารถเพิ่มขนาดการทำความเย็นได้ภายหลัง มากสุดถึง 4 Module อีกทั้งยังสะดวกในการใช้งานด้วยระบบควบคุมหน้าจอแบบสัมผัส 

              "เครื่องปรับอากาศ มักถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย ในการทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่เราต้องคิดค้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคได้รับความคุ้มค่าและเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมให้ได้มากที่สุด" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิแอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าว

                  สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของยูนิแอร์จากงานแสดงสินค้าครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มลูกค้าทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ อาทิ กลุ่มเอเซียใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง รวมถึงวิศวกร, ผู้รับเหมา ตลอดจนบริษัทที่ทำงานด้านออกแบบระบบเครื่องปรับอากาศ ที่มาเข้าชมนวัตกรรมใหม่ เพื่อนำไปออกแบบติดตั้งอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม

                 ปัจจุบัน บริษัท ยูนิแอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินกิจการเข้าสู่ปีที่ 45 นับเป็นแบรนด์เครื่องปรับอากาศไทยที่เก่าแก่ที่สุด มีลูกค้าทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีผลประกอบการในปี2559  ประมาณ 400 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนตลาดในประเทศ 70 % ต่างประเทศ 30% และตั้งเป้าการเติบโตสำหรับปี 2561 ไว้ที่ 15%

            กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิแอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางในการดำเนินธุรกิจในระยะต่อไปนั้น บริษัทฯ ยังคงเน้นความเป็นผู้ชำนาญการเรื่องเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioning Experts)และมุ่งทำตลาดเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ สำหรับกลุ่มลูกค้าเชิงพาณิชย์โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ พร้อมเน้นการทำการตลาดรูปแบบใหม่ในปี 2561 โดยจะเพิ่มการสื่อสารและแนะนำสินค้าผ่านสื่อดิจิตัลมากขึ้น ทั้ง google, Facebook และ Line ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารเอชซีเอฟซี – 22 (สารคลอโรไดฟลูออโรมีเทน) ที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 50,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารเอชซีเอฟซี – 22 (สารคลอโรไดฟลูออโรมีเทน) ที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 50,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฏหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป

พณ. เสนอว่า
1. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม แจ้งว่า ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งประเทศไทยได้ขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลในการดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 1 (HCFCs Phase-out Management Plan Stage I) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตเครื่องปรับอากาศในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์กระบวนการผลิต และการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในการใช้สารทดแทน ซึ่งตามเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนพหุภาคีฯ ประเทศไทยจะต้องกำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารเอชซีเอฟซี – 22 ที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 50,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อจำหน่ายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข การคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนและเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงของพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกมีพันธะผูกพันที่ต้องปฏิบัติตาม จึงสมควรกำหนดมาตรการเพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารเอชซีเอฟซี – 22 (สารคลอโรไดฟลูออโรมีเทน) ที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 50,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร

สาระสำคัญของร่างประกาศ
กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารเอชซีเอฟซี – 22 (สารคลอโรไดฟลูออโรมีเทน) ที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 50,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 ตุลาคม 2560--

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/cabt/2723526

“ไดกิ้น” ก้าวสู่ยุคสมาร์ทไลฟ์เต็มตัว จับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสนับสนุนการพัฒนา PEA HiVE Platform สร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อบ้านอัจฉริยะและประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง

บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด ผู้นำนวัตกรรมด้านระบบปรับอากาศไดกิ้น จับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมพัฒนา PEA HiVE Platform สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ พัฒนาระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะภายในบ้านก้าวสู่สังคมสมาร์ทไลฟ์เต็มรูปแบบ

daikin-pea-hive-platform

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีต่างๆ ก้าวล้ำหน้าไปไกลโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวรับกระแสให้ทันท่วงที เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายขึ้นของผู้คนในปัจจุบัน ตลอดจนสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน สังคม และต่อโลกได้มากที่สุด เช่นเดียวกับไดกิ้น ผู้นำด้านนวัตกรรมระบบปรับอากาศระดับโลกที่ใส่ใจในการอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้พัฒนาระบบปรับอากาศให้ตอบรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความต้องการที่หลากหลายอยู่เสมอ ฉะนั้นในยุคสมาร์ทไลฟ์ที่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความอัจฉริยะ ควบคุมการทำงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไดกิ้นจึงมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวสู่สังคมแห่งความสมาร์ทอย่างเต็มตัว

สมพร จันกรีนภาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด ได้กล่าวถึงการพัฒนาไปอีกขั้นของระบบปรับอากาศไดกิ้นว่า “ในอดีตเราควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยรีโมทคอนโทรล เมื่อมีสมาร์ทโฟนเข้ามาจึงเริ่มใช้สมาร์ทโฟนในการควบคุมแทน แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการควบคุมในลักษณะ in home กระทั่งปัจจุบันระบบความเร็วและการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตค่อนข้างเสถียร จึงมีการพัฒนาให้สามารถควบคุมในแบบ out of home ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการควบคุมอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบสมาร์ทจำเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะในสังคมมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น  เช่น ความต้องการในแง่ของการประหยัดพลังงาน ความต้องการในแง่ของความสะดวกสบาย หรือมีความจำเป็นบางประการ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บ้านที่มีผู้สูงอายุอยู่ด้วย หากมีโรคประจำตัวอย่างอัลไซเมอร์แล้วไม่มีคนดูแลตลอดเวลา ก็สามารถใช้ความสมาร์ทของเครื่องใช้ต่างๆ เหล่านี้ให้เข้ามาดูแลแทนได้ ซึ่งระบบปรับอากาศที่เรามีอยู่ก็สามารถเช็คได้ว่าผู้สูงอายุอยู่ตรงไหนของบ้าน เพื่อเปิดหรือปิดเครื่องปรับอากาศในจุดนั้นๆ ขณะที่เราไม่อยู่บ้านได้ หรือหากลืมปิดเครื่องปรับอากาศก็สามารถปิดได้จากนอกบ้าน นี่คือความจำเป็นในการใช้งานระบบสมาร์ทในอนาคต”

และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบอัจฉริยะและสมาร์ทโฮมให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ล่าสุดไดกิ้นจึงได้ร่วมสนับสนุนงานวิจัยการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานอัจฉริยะของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA HiVE Platform) สำหรับบ้านพักอาศัย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งเน้นให้มีจุดเด่นด้านการจัดการพลังงานเป็นเลิศสำหรับบ้านพักอาศัยและสอดคล้องกับพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ เช่น Solar PV Rooftop เพื่อให้การใช้พลังงานสุทธิของบ้านเป็นศูนย์ (Net-Zero Energy) หรือใกล้เคียง และรองรับการใช้พลังงานในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะเปลี่ยนบ้านพักอาศัยธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) นอกจากนี้ PEA HiVE Platform ยังพัฒนาให้เชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Appliances) และอุปกรณ์อัจฉริยะ (lOT) ได้อย่างหลากหลาย โดยเปิดให้นักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ได้เข้ามาร่วมพัฒนาอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นให้ตรงความต้องการมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของไดกิ้นที่มุ่งมั่นจะผลักดันสมาร์ทโฮมให้เกิดขึ้นจริง

“ในส่วนของไดกิ้นเราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศทั้งขนาดเล็กและขนาดอุตสาหกรรม ฉะนั้นปัจจุบันเราจึงมีแนวทางที่จะพัฒนาสินค้าให้สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ที่สั่งการในด้านของการควบคุมเครื่องปรับอากาศและในด้านพลังงานอยู่แล้ว จึงได้เข้าไปพูดคุยกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จนเห็นว่ามีแนวทางและนโยบายที่สอดคล้องกัน เราเลยยินดีที่จะให้การสนับสนุนในแง่ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจริงๆ มีเครื่องปรับอากาศในโครงการที่วิจัยร่วมกันว่าสามารถที่จะนำแพลตฟอร์มนี้มาสั่งงานฮาร์ดแวร์ของเราได้อยู่แล้ว เพราะปัจจุบันนี้มีหลายภาษาในการสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ฮาร์ดแวร์ของเราก็เป็นอีกหนึ่งภาษาที่ได้นำมาทดสอบร่วมกันและสามารถเข้ากันได้ ซึ่งนับว่า HiVE Platform ของ PEA เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่จะรวมการสื่อสารที่หลากหลายให้สามารถสื่อสารภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันได้ เพราะฉะนั้นประโยชน์ของผู้ใช้คือ สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างรุ่น ต่างแบรนด์ ต่างระบบกัน เพื่อนำมาใช้งานร่วมกันได้ภายใต้ HiVE Platform จึงทั้งสะดวก สบาย และประหยัดพลังงานสูงสุด” สมพรกล่าว

นอกจากนี้ในส่วนของระบบปรับอากาศ ผู้บริหารไดกิ้น ยังมองว่าเพียงแค่ความอัจฉริยะทางด้านความเย็นที่ทางไดกิ้นพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงแล้วยังไม่เพียงพอ บริษัทยังมองการณ์ไกลไปถึงการเป็นผู้นำด้านการปรับคุณภาพอากาศภายในบ้าน โดยเชื่อมโยงกับการเติมออกซิเจนเข้าสู่ภายใน รวมถึงการฟอกอากาศภายในให้มีความบริสุทธิ์และสะอาดมากขึ้น สามารถสั่งงานให้กำจัดมลพิษได้อย่างทันทีทันใด ซึ่งเป็นทิศทางที่ไดกิ้นต้องการสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นเพื่อให้ทุกบ้านเป็นสมาร์ทโฮมอย่างแท้จริงในอนาคต

โปรโมชั่น daikin

<โปรโมชั่น วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2560> ไดกิ้นขอแนะนำโปรโมชั่นล่าสุด “Daikin Rainy Super Fresh 2017” ให้ทุกคนได้สัมผัสกับความเย็นสบายจากเครื่องปรับอากาศไดกิ้น พร้อมรับกระเป๋าเดินทางขนาด 20 นิ้ว...

โปรโมชั่น daikin ธันวาคม 2560 – 31 มกราคม 2561

<โปรโมชั่น วันนี้ – ถึง 31 มกราคม 2561> อากาศดีๆ รับปีใหม่กับโปรโมชั่น เครื่องฟอกอากาศไดกิ้น เงื่อนไขในการใช้ส่วนลด:• ลูกค้าต้องสแกน QR Code นี้ เพื่อเข้าไปกด...

Wednesday the 13th. Design by QualityJoomlaTemplates. Custom text here
Copyright 2012

©